Posted by : Unknown 27 เมษายน 2557


Cisco-EPC3825-Asus RT-12HP-Linksys WRT54GL

          ระบบอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไปในบ้านเราเริ่มเข้าสู่ยุคของไฟเบอร์ออปติคกันได้สัก 1 ปีแล้ว โดยในช่วงเริ่มต้นก็ยังคงมีค่าใช้จ่ายรายเดือน ค่ารายเดือนล่วงหน้า ค่าประกัน และค่าอื่นๆที่แฝงมา ซึ่งสรุปแล้วเมื่อติดตั้งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,000 - 8,000 บาท และค่าใช้รายเดือนประมาณ 1,200 บาท ขึ้นไป ซึ่งยังถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน
          แต่ในปัจจุบันได้มีการแข่งขันของผู้ให้บริการกันมากขึ้น ทำให้ราคาค่าติดตั้งและรายเดือนลดลง โดยเริ่มต้นประมาณ 599 บาท/เดือน ที่ความเร็ว 10 Mbps/1 Mbps ทำให้ผู้ใช้ตามบ้านมีโอกาสได้ใช้งาน โดยค่าใช้จ่ายรายเดือนแทบจะเท่ากับแบบเดิมที่ผ่านสายโทรศัพท์
          และผมก็เป็นหนึ่งในผู้ใช้ที่ได้ลองเปลี่ยนมาใช้เคเบิลอินเตอร์เน็ตของทรู โดยเลือกแพคเกจ สุขคูณสอง ความเร็ว 12 Mbps/1.2 Mbps และใช้โทรศัพท์มือถือรายเดือนของทรูก็จะได้ความเร็วเพิ่มอีก Mbps เป็น 14 Mbps/1.2 Mbps ราคา 699 บาท/เดือน พร้อมกล่องดูทีวี (เดิมใช้ 3BB 10 Mbps/512 Kbps ราคา 590 บาท/เดือน)
         แต่ก่อนที่จะตกลงใช้และติดตั้งเจ้าหน้าที่จะประเมินคุณภาพและระยะทางกันก่อนว่าบ้านเราอยู่ไกลจากจุดกระจายสัญญาณเท่าไร โดยในโปรโมชั่นมีค่าระยะสายสัญญาณฟรีที่ 70 เมตร จากจุดกระจายสัญญาณถึงจุดวางอุปกรณ์ เกินจากนี้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 25บาท/เมตร ซึ่งตรงนี้มีหลายท่านเข้าใจผิดคิดว่าระยะ 70 เมตรเริ่มนับจากหน้าบ้านไปถึงจุดวางอุปกรณ์ภายในบ้าน ทำให้เมื่อติดตั้งเสร็จอาจจะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกหลายบาท
          ในบทความนี้จะเขียนเปรียบเทียบถึงความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่ได้จากอุปกรณ์เก่าและอุปกรณ์ใหม่เท่านั้น จะไม่พูดถึงคุณภาพ ความนิ่ง หรือปัญหาของสัญญาณอินเตอร์เน็ต และช่วงเวลาของการทดสอบอาจจะไม่ต่อเนื่องกันบ้างนะครับ
Cisco_EPC3825_EuroDocsis 3.0

         หลังจากตกลงใช้และติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ก็ลองทดสอบความเร็วได้ประมาณ 10-12 Mbps/1.2 Mbps ก็ถือว่าน่าพอใจละ แต่อุปกรณ์ที่ให้มาคือ Cisco EPC3825 ไม่ค่อยประทับใจเท่าไร เนื่องจากร้อน, WiFi อ่อนแอมาก ระยะ 4 เมตร นั่งขวางสัญญาณนิดหน่อยความแรงของสัญญาณก็ตก เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ค่อนข้างช้าและยากเพราะแจก DHCP ไม่ค่อยดี เลยต้องใช้ Linksys WRT54GL (Firmware DDWRT) ตัวเดิมที่มีอยู่มาเสริมเข้าไปโดย Cisco EPC3825 ปิดการแจก DHCP ,ปิด Wireless และต่อพัดลมเสริมช่วยระบายความร้อน แล้วใช้ Linksys WRT54GL เป็นตัวแจก DHCP และ Wireless ซึ่งช่วยได้ดีมาก แต่ .....
          บังเอิญได้ทดสอบความเร็วด้วยโทรศัพท์มือถือ Samsung Galaxy Grand กับตัวจ่าย WiFi อีกตัวคือ Buffalo WBMR-HP-GN ความเร็วที่ได้อยู่ราวๆ 24 Mbps ซึ่งเร็วกว่าที่ใช้ Linksys WRT54GL ถึง 14 Mbps !!! จะเกิดจากเทคโนโลยีของอุปกรณ์ที่ต่างยุคต่างสมัยกันหรือไม่?



          ก็เลยจัด Asus RT-12HP มาไขข้อข้องใจซะเลย จากภาพแผนผังแสดงการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบใช้สาย LAN และการ์ด PCI WLAN 54Mbps ผลที่ได้ ...
          Linksys WRT54GL
          LAN    19.10/1.55Mbps
          WLAN 13.21/1.56Mbps

          Asus RT-12HP
          LAN    19.20/1.56Mbps
          WLAN 19.28/1.58Mbps

ดูภาพเปรียบเทียบชัดๆด้านล่าง
เชื่อมต่อแบบ LAN
LAN Asus RT-12HP
LAN Linksys WRT54GL

เชื่อมต่อแบบ WLAN
WLAN Asus RT-12HP
WLAN Linksys WRT54GL
ความเร็ว WiFi 19.28Mbps กับ 13.21Mbps แตกต่างกัน 6Mbps !!!
การทดสอบจาก iPAD mini ค่าที่ได้สูงกว่าที่ทดสอบกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะซะอีก

          Speed Boot ของทรู ที่จะทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้นชั่วขณะหลายเท่า จะเห็นชัดเจนเมื่อเชื่อมต่อแบบใช้สาย LAN แต่ถ้าใช้ WiFi จะไม่พบช่วง Speed Boot ในตัวจ่าย WiFi ที่ใช้ทดสอบทั้ง 3 ตัว
True Speed Boot ผ่านสาย LAN ระหว่างทดสอบจะเห็นกราฟช่วงแรกจะสูงขึ้นกว่าเท่าตัว
True Speed Boot ผ่าน WLAN จะไม่มีช่วง Speed Boot
จากการทดสอบพอสรุปได้ดังนี้
1. การเชื่อมต่อแบบใช้สาย LAN ได้ความเร็วดีที่สุดไม่ว่าอุปกรณ์จะเก่าหรือใหม่
2. การเชื่อมต่อแบบไร้สาย WiFi อุปกรณ์ส่งสัญญาณเก่า-ใหม่ มีผลกับความเร็วที่ได้ (จาก 13 Mbps ได้มาเป็น 19 Mbps)
3. ตัวรับแบบไร้สาย WiFi เก่า-ใหม่ มีผลกับความเร็วที่ได้ไม่มากนัก
4. Speed Boot ของทรู จะพบและเห็นได้ชัดเมื่อเชื่อมต่อแบบใช้สาย LAN หากใช้ WiFi จะไม่เห็นผลหรือไม่ได้ความเร็วนี้

          แต่เดิมเมื่อติดอินเตอร์เน็ทของทรูใหม่ๆได้ความเร็ว 10-12 Mbps ก็พอใจละนะ แต่เมื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่โดยเสียเงินเพิ่ม 1,800 บาท แล้วได้ความเร็วเพิ่มขึ้นมาอีก +10 Mbps  สำหรับผมมันคุ้มค่าที่จะอัพเกรด 
          หากงงก็ต้องขออภัยเพราะผมเองก็เริ่มงงเหมือนกัน 

Leave a Reply

Subscribe to Posts | Subscribe to Comments

- Copyright © S.SUWANNASRI - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan - Skyblue - Contact : suwanasri.s@gmail.com - W3Counter

W3Counter

Back to Top